วันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2558
วันศุกร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557
วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557
วันอาทิตย์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Learning Principle
ทฤษฎีนี้ กำลังพยายามบอกว่า การเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจาก สามส่วนประกอบหลัก คือ ร่างกาย สมอง จิตใจ ( จะมีส่วนเชื่อมกับ Vision Passion Mission)
ทำไมเราอ่านหนังสือ ก่อนไปสอบแล้วสามารถทำข้อสอบได้เต็ม ?
แต่ทำไม ไม่สามารถฝึกภาษาอังกฤษให้เก่งได้ ภายในสามวัน ?
และ ทำไมบางคนถึงทำอะไรบางอย่างสำเร็จ และบางคนทำไม่สำเร็จ ทั้งๆที่มันคืองานชิ้นเดียวกัน ?
คำตอบของคำถามทั้งหมดนั้น คือ การเรียนรู้ของคนเราต้องอาศัยส่วนประกอบสามอย่างครับ งานบางอย่าง ใช้แค่ส่วนประกอบเดียวก็สำเร็จ แต่บางอย่างต้องใช้ส่วนประกอบมากกว่านั้น และงานบางงาน ก็จะใช้ส่วนประกอบใดส่วนประกอบหนึ่งเป็นเฉพาะเจาะจง
ผมถามว่าเราจะหัดว่ายน้ำ แล้วให้ลอยน้ำได้ ภายใน 1 วันเป็นไปได้มั้ย
คำตอบ เป็นไปได้ยากมาก เพราะ การลอยน้ำ เป็นทักษะที่เราต้องใช้ร่างกาย หรือส่วนประกอบที่ผมเรียกว่า "ร่ายกาย" นั้นหล่ะ มันแทนทักษะการเรียนรู้ที่เกิดจากร่างกาย (เชื่อมโยงกับทฤษฎีการสร้างนิสัย) เราไม่สามารถอ่านหนังสือสอนว่ายน้ำ แล้วว่ายน้ำเป็นทันทีที่อ่านจบ เพราะทักษะการว่ายน้ำ มันใช้ส่วนประกอบคือ ร่างกาย มากกว่าสมอง อาศัยจิตใจ (ความกล้า) อยู่บ้าง แต่เราต้องฝึกทุกวัน ถ้าอยากได้ความสามารถนั้นมาครอบครอง ต้องฝึกจนร่ายกายของเราจดจำท่วงท่าของการว่ายน้ำได้ ต้องฝึกจนร่ายกายเราตอบสนองกับน้ำโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องคิดอะไร ความสามารถอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มของการใช้ ร่ายกาย เป็นหลัก ได้แก่ การปั่นจักรจาน การฝึกภาษา การพูด การเล่นกีฬา เป็นต้น
ผมถามว่า เป็นไปได้มั้ยที่เราจะสามารถอ่านหนังสือวันเดียวแล้วจำได้ทั้งหมด ที่อ่านมา ?
คำตอบ เป็นไปได้นะครับ ถ้าคุณได้รับการฝึกมา สมองเราสามารถจำอะไรก็ได้ครับที่อยากจำ แต่มันก็ฉลาดพอที่จะลบบางอย่างที่ไม่จำเป็นออกได้เหมือนกัน แต่ผมกำลังบอกว่า ทักษะการจำข้อมูล มันใช้เพียงสมองเป้นส่วนประกอบหลัก เราก็สามารถจำทั้งหมดนั้นได้แล้ว (แต่ก็ดีกว่าถ้าจะใช้ส่วนประกอบอื่นๆมาช่วย เอาไว้จะอธิบายตอนจบ)
ผมถามว่า ทำไมบางคนถึงทำอะไรบางอย่างสำเร็จ แแต่บางคนทำไม่สำเร็จ ทั้งๆที่มันคืองานชิ้นเดียวกัน ?
คำตอบ มันขึ้นอยู่กับจิตใจครับ คือถ้า ความสามารถของคนเท่ากัน อายุเท่ากัน คือมีความสามารถที่จะทำงานสำเร็จเท่าๆกัน จะมีคนที่ทำสำเร็จ และคนที่ทำไม่สำเร็จเกิดขึ้น คนที่ทำสำเร็จมักจะมีความเชื่อ (ใช้ส่วนประกอบของจิตใจ) และพวกเขาจินตนาการถึงตอนจบได้แล้วว่างานที่กำลังทำอยู่ ตอนจบจะเป็นอย่างไร และพวกเขาเชื่อว่าตัวเองสามารถทำมันให้สำเร็จได้ ส่วนคนที่ทำไม่สำเร็จนั้นพวกเขามักขาดความเชื่อ (ขาดการใช้ส่วนประกอบ จิตใจ) พวกเขาสักแต่จะทำอย่างเดียว โดยไม่รู้ว่าทำไปทำไม เมื่อพวกเขาจินตนาการไม่ออกว่าตอนจบของงาน (เส้นชัย) เป็นอย่างไร พวกเขาก็มักไปไม่ถึงเส้นชัยแน่นอน
สรุป
ถ้าเราจะทำอะไรสักอย่าง ให้พิจารณาดูว่า งานนั้นต้องการทักษะอะไรเป็นพิเศษ ต้อใช้ส่วนประกอบใดเป็นพิเศษ การใช้ส่วนประกอบนั้นเพียงอย่างเดียวสามารถทำให้งานสำเร็จได้ก็จริง แต่การใช้ทั้งสามส่วนประกอบ คือ ร่างกาย สมอง และจิตใจ ในการทำงานชิ้นนั้น มันจะง่ายกว่า และสนุกกว่า ตัวอย่างเช่น ถ้าเราจะจำข้อมูลอะไรสักอย่าง แทนที่จะใช้แต่สมอง เราก็สามารถใช้ร่ายการในการช่วยจำได้เช่นการทำท่าต่างๆ และยิ่งถ้าเราจินตการถึงการได้นำข้อมูลนั้นไปใช้ และเชื่อว่ามันจะสำเร็จด้วย มันยิ่งจะทำให้เรามีพลังที่จะจำมากขึ้น และมันจะสำเร็จในที่สุด ทั้งการจำและการประยุกต์ใช้
วันเสาร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
Connecting importance than size
ทฤษฎีนี้ มีใจความหลักๆ ง่ายๆว่า การพัฒนาเกิดจากการการเชื่อมโยง หรือ มีความสัมพันธ์กัน ไม่ใช่การขยายขนาด
ผมคิดทฤษำีนี้ขึ้นได้ ตอนได้เรียนรู้เรื่องราวของสมอง สมองของสิ่งมีชีวิตที่แลาดที่สุด ไม่ต้องมีขนาดใหญ่ที่สุด แต่ต้องมีการเชื่อมโยงกันมากที่สุด สมองของมนุษย์เล็กกว่าสมองของช้าง ของวาฬสีน้ำเงิน
แต่เรากับคิดอะไรซับซ้อนได้มากกว่า เป็นเพราะเซลล์สมองของเราเชื่อมโยงกันมากกว่าสมองของสัตว์เหล่านั้น
สิ่งนี้นอกจากจะอธิบายเรื่องของวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตแล้ว มันยังอธิบายได้ถึงการพัฒนาระดับองค์กรด้วย กล่าวคือ ประเทศที่ต้องการพัฒนาไปข้างหน้า ไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ แต่จำเป็นต้องมีการเชื่อมโยง หรือมีความสัมพันธ์ (Connection) กับสิ่งอื่นๆให้มาก
สิงคโปร์ เป็นตัวอย่างที่ดีที่จะใช้อธิบายทฤษฎีนี้ ประเทศไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ แต่ต้องมีการเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆ สิงค์โปร์จึงสร้างท่าเรือเพื่อเป็นพื้นที่ที่คอยจัดระบบ ให้กับประเทศอื่นๆ มันเหมือนกับการทำงานของสมองส่วนกลางไม่มีผิด นอกจากนั้นสิงคโปร์ยังส่งคนของตัวเองออกไปอยู่ประเทศอื่นๆด้วย เพื่อนำเอาทรัพยากรต่างๆจากข้างนอกเข้ามาในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้ เงิน นักท่องเที่ยว วัฒนธรรม และอีกมากมาย
พูดถึงการศึกษา สิงคโปร์ ก็ทำให้จุดนี้เป็นส่วนที่ใช้ Connect กับประเทศอื่นๆได้ โดยทำให้การศึกษาของประเทศดีที่สุด และเปิดให้ใครก็ได้ที่อยากมี Connection ด้วย เข้ามาศึกษา
เอาหล่ะ แล้วการมีขนาดใหญ่ไม่ดี รึป่าว?
มันก็ไม่ใช่ไม่ดีเลย แต่ในมุมมองของผมผ่านทฤษฎีนี้มันจะไม่ใช่การพัฒนาที่ยั่งยืนเลย สุดท้ายแล้วมันจะเกิดปัญหา
- จีน เป็นตัวอย่างที่ดีที่เราควรศึกษาเพื่อรับมือกับการที่ให้ความสำคัญกับขนาด เท่าๆกับ การเชื่อมโยง
- โซเวียต เป็นตัวอย่างที่เราสามารถศึกษาได้ ของการให้ความสำคัญกับขนาด แต่ไม่ให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยง สุดท้ายจะเกิดปัญหา และหาทางออกยาก
- สหรัฐอเมริกา เป็นตัวอย่างที่เราสามารถศึกษาได้ ของการให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงมากกว่าขนาด ทั้งๆที่ขนาดของตัวเองก็ใหญ่ แต่ทำให้มันเล็กลงเพื่อให้เกิดการพัฒนา อย่างทั่วถึง
แล้วทฤษฎีนี้มีประโยชน์อย่างไร ?
=> อย่างแรก ถ้าประเทศเราต้องการพัฒนาไปมากกว่านี้ เราต้องมี Connection กับคนอื่นๆมากขึ้น ผมหมายถึงประเทศอื่นๆนั้นหล่ะ
อย่างที่สอง เราสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีนี้ได้ในระดับ สถาบันย่อยที่สุดของสังคมได้ โดยเริ่มจาก สถาบันครอบครัว ถ้าแต่ละคนในครอบครัวมีความสัมพันธ์กันมากๆ ครอบครัวก็จะเข้มแข็ง และถ้าแต่ละครอบครัว มีความสัมพันธ์กับครอบครัวอื่นมากๆ ชุมชนก็จะเข้มแข็ง และถ้าแต่ละชุมชนมีการเชื่อมโยงกับชุมชนอื่นมากขึ้นๆ เมืองนั้นก็จะเข้มแข็ง และถ้าเมืองนั้นมีความสัมพันธ์กับเมืองอื่นๆมากๆ ประเทศนั้นก็จะเข้มแข็ง และถ้าประเทศนั้นมีการเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆมากๆ ทวีปนั้นก็จะเข็มแข็ง และถ้าทวีปนั้นมีการเชื่อมโยงกับทวีปอื่นมากๆ โลกนั้นก็จะเข้มแข็ง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)